แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1.ปลากัดป่าภาคกลาง
เป็นปลากัดที่พบได้ในเขตภาคกลางของไทยอาศัยอยู่ในน้ำตื้นและน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตัวผู้มีครีบหางสีแดง ครีบกระโดงสีเขียว ลำตัวเพรียว หัวแหลมสีดำ ลำตัวมีเกล็กสีเขียวแดงดำประปราย ริมฝีปากหนา ตัวเมียมีสีน้ำตาลไม่มีสีสันสวยงามเช่นตัวผู้และมีขนาดที่เล็กกว่าตัวผู้ โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร มีความดุร้ายมากกว่ากลุ่มปลากัดอมไข่ เมื่อพบแหล่งที่เหมาะสมจะทำการก่อหวอดและสร้างเอาณาเขตของตนเพื่อผสมพันธุ์
2.ปลากัดป่ามหาชัย
เป็นปลากัดที่ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้แต่มีลักษณะที่เด่นและสวยงามไม่แพ้ปลากัดป่าชนิดอื่นกล่าวคือ ตัวผู้มีสีเขียวสดใส เกล็ดเรียงวยคล้ายเมล็ดข้าวโพด ครีบและเครื่องมีสีเขียว ช่วงหัวมีสีน้ำตาลและดำ เส้นย้อนชัดเจน หางโพธิ์และพัดในบางแหล่ง และมีลักษณะนิสัยที่ดุร้ายเมื่อพบตัวผู้จะเข้าต่อสู้ทันที พบได้ในจังหวัด สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
3.ปลากัดป่าอีสาน
เป็นปลากัดที่มีลักษณะคล้ายปลากัดมหาชัยแต่ที่หน้าจะมีเกล็ดคล้ายงู ลำตัวเรียวยาว เกล้กมีสีเขียวเคลือบตลอดทั้งลำตัว สีเขียวสวยงาม พบทั้งหางพัดและหางโพธิ์ นิยมนำมากัดกันอีกชนิดหนึ่ง พบในแหล่งน้ำตื้นที่นิ่งในพื้นที่ภาคอีสานของปประเทศไทย
4.ปลากัดป่าตะวันออก เป็นปลากัดที่มีลักษณะคล้ายกับปลากัดภาคใต้ หัวมีสีดำเคลือบมิดบ้างก็เรียก ตะวันออกหน้าดำ เกล็ดมีสีดำหรือเขียวแซมบ้าง กระโดงมีสีเขียว มีวงหยดน้ำที่ชายน้ำเช่นเดียวกับปลากัดภาคใต้ และมีลักษณะหางพัด บางตัวมีเส้นย้อน พบได้ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย
5.ปลากัดป่าภาคใต้
เป็นปลากัดที่มีลักษณะเล็กกว่าปลากัดภาคอื่นๆ รูปร่างเรียว ลำตัวเล็ก ที่แก้มมีเกล็ดสองขีดสเขียว ลำตัวมีเกล็กสีเขียวเรียงสวยงาม หยดน้ำที่ชายน้ำสีแดง กระโดงมีสีเขียว หางมีวงพระจันทร์ หางพัดเป็นลักษณะเด่นกว่าหางโพธิ์แต่พบหางโพธิ์ในบางครั้ง วงพระจันทร์ที่หาง นอกจากนั้ปลากัดบางตัวยังพบเส้นย้อนอีกด้วย พบได้ในแหล่งหนองน้ำนิ่งๆ เขตภาคใต้
6.ปลากัดอีสานหางลาย
เป็นปลากัดที่พบได้ในแหล่ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ มีลักษณะที่ไม่เหมือนปลากัดชนิดอื่น เนื่องจากมีลายที่หางและกระโดงสวยงาม ลักษณะลพตัวเรียวยาว ครีบหางมีลายทั้งหางพัดและหางโพธิ์ ชายน้ำมีสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดมีสีเขียวอมฟ้า หน้าเรียวคล้ายงู ตัวเมียมีสีสันน้อยกว่าตัวผู้มาก
Comments