ปลากัดเป็นปลาที่อยู่กับชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง บึง ธารน้ำไหลเอื่อยๆ รวมทั้งแหล่งน้ำนิ่ง ทุ่งนาเป็นต้น โดยในสมัยก่อนนิยมนำปลากัดที่จับได้มาจากรูปูในช่วงหน้าแล้งเพื่อหมัก และเตรียมการสำหรับการนำมากัดกันเป็นกีฬาพื้นบ้าน หากปลากัดตัวใดสามารถกัดได้รวดเร็วรุนแรง มีไหวพริบ และความฉลาดก็จะมีการเก็บไว้เพื่อนำมาผสมพันธุ์เพาะเลี้ยง ต่อมามีการพัฒนาปลากัดป่าเป็นลูกสังกะสีและปลากัดลูกหม้อเป็นต้น โดยในปัจจุบันปลากัดถูกค้นพบในหลายภาคและมีความสวยงาม และลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ปลากัดป่าแก้มแดงจากภาคกลาง
ป่ากัดป่าใต้จากภาคใต้ ปลากัดป่าอีสานหน้างู จากภาคอีสาน ปลากัดป่าหน้าดำตะวันออกจากภาคตะวันออก ปลากัดป่าอีสานหางลาย(กีตาร์) ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดดำ อ.ภูเรือ จ.เลย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสี รูปร่างและรูปทรงต่างๆอย่างต่อเนื่องจนได้ปลากัดที่มีเอกลักษณ์และลวดลายแตกต่างไปจากเดิมตามธรรมชาติ เช่น ปลากัดลายไทย ปลากัดแฟนซี ปลากัดจีน ปลากัดหูช้าง เป็นต้น
Comments