ปลากัดอมไข่ในประเทศไทย
แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ปลากัดภูเขาหรือปลากัดปีนัง ปลากัดกระบี่ ปลากัดหัวโม่งและปลากัดน้ำแดงหรือปลากัดช้าง
1.ปลากัดภูเขา หรือปลากัดปีนัง
เป็นปลากัดที่พบได้ในแหล่งน้ำไหลเช่นน้ำตกป่าพรุ มีขนาดคล้ายกับปลากัดเพียงแต่ลำตัวใหญ่กว่า ครีบหางใหญ่กว่า ลักษณะของตัวผู้จะมีสีน้ำตาล ข้างแก้มสีเขียวอมฟ้า ตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อนๆขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร
เมื่อถึงการผสมพันธุ์ปลากัดประเภทนี้จะไม่ทำการก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปาก นอกจากนี้ปลากัดชนิดนี้ยังไม่ดุร้ายมากและพบการอยู่รวมกันบ่อยครั้ง
2.ปลากัดกระบี่
เป็นปลากัดที่พบเฉพาะในกอหญ้าริมลำธารอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลังและตรีบหางมีสีแดง ครีบท้องมีสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียจะสีสันไม่สวยงามมากเท่าตัวผู้ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร
3.ปลากัดหัวโม่ง
เป็นปลากัดที่มีรูปร่างคล้ายปลากริม ครีบโปร่งใสลำตัวมีคล้ำออกน้ำตาล ปลาตัวเมียชนิดนี้มีครีบหางที่เล็กกว่าปลากัดตัวผู้พบในน้ำตกและลำธารในแถบภาคตะวันออก
4.ปลากัดน้ำแดง หรือปลากัดช้าง
เป็นปลากัดที่พบได้ในน้ำที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างต่ำ อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดนราธิวาส ตัวผู้มีครีบหางและครีบหลังที่ยาว หัวโต ปากกว้างและเกล็ดใหญ่ แต่มีลักษณะนิสัยที่ไม่ดุร้ายนอกจากนี้ยังจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลากัดอมไข่อีกด้วย โดยมีขนาดประมาณ 10-12 เซนติเมตร
Comments